ข้อมูลเบื้องต้น
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม ปี พ.ศ.2537 โดยการชักนำของ พลตรี นายกองเอก จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ.2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และ ดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม พ.ศ.2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน พ.ศ.2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติ องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คมช. ตั้งตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง ทั้งเพิกถอนสิทธิทางการเมืองทักษิณห้าปี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช. แต่งตั้งอายัดทรัพย์ของทักษิณและครอบครัวในประเทศไทยรวม 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติขณะอยู่ในตำแหน่ง ทักษิณเคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 หลังพรรคพลังประชาชนที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้ง แต่หลังจากเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เดินกลับประเทศไทยเพื่อฟังคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรแต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงเดินทางข้ามไปมาหลายประเทศอยู่พักหนึ่ง หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม ศาลดังกล่าวตัดสินจำคุกทักษิณ 2 ปี จากคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สนับสนุน แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี พ.ศ.2552 รัฐบาลอภิสิทธิ์เพิกถอนหนังสือเดินทางของเขา โดยอ้างว่ามีบทบาทในกลุ่มนปช.ระหว่างเหตุการณ์ไม่สงบช่วงสงกรานต์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ทรัพย์สินของทักษิณประมาณ 46,000 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถูกถอดยศ "พันตำรวจโท" และ "นายกองใหญ่" โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2558 และ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2562 ตามลำดับ การถอดทั้ง2ยศ การเรียกคืนรางวัลเกียรติยศจักรดาว และ การเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไทย เหล่านี้เป็นการกระทำของฝ่ายเผด็จการทหารไทย และ ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อลดความน่าเชื่อถือ กลั่นแกล้ง และ บั่นทอนจิตใจ ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะการถอดยศพันตำรวจโทเป็นการใช้อำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งมาตรา 44 นี้ไม่ใช่กฎหมายปกติตามหลักการประชาธิปไตย แต่เป็นกฎหมายที่ผู้เผด็จการชอบนำมาใช้ ซึ่งการใช้มาตรา 44 ถอดยศพันตำรวจโท โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมก่อนแสดงให้เห็นถึงความมีอคติ การกลั่นแกล้ง และ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีต่อ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ใน พ.ศ.2562 ฟอร์บส์ ประเทศไทย ได้จัดอันดับ 50 อภิมหาเศรษฐีไทย พบว่า ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร รวยอันดับที่19 มีมูลค่าทรัพย์สิน 60,600 ล้านบาท
ประวัติ
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเล่นว่า น้อย เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวน 10 คนของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร ธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์ ผู้เป็นธิดาในเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร สมัยอยู่ร้านกาแฟ ในเวลาว่าง ดร.ทักษิณมักช่วยบิดาโม่กาแฟ และขายโอเลี้ยง เมื่อครั้งบิดาทำสวนส้ม ทักษิณมักช่วยมารดาตัดส้ม แพ็คลงเข่งอย่างสม่ำเสมอจนชำนาญ นอกจากนั้น ทักษิณยังรับหน้าที่ขายกล้วยไม้ จากสวนของบิดาด้วย เมื่ออายุได้ 16 ปี ได้ช่วยบิดาดำเนินการโรงภาพยนตร์ของครอบครัว ในปี พ.ศ.2518 ทักษิณเริ่มงานการเมืองเป็นครั้งแรก โดยดำรงตำแหน่งเลขานุการของปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทักษิณมีชื่อ แม้ว ซึ่งเป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ตั้งให้ เนื่องจากแม้จะตากแดดแต่ตัวก็ไม่ดำ ส่วนชื่อ "เหลี่ยม" นั้นมาจากนักเขียนหนังสือพิมพ์และประชาชนเป็นคนตั้งให้ เนื่องจากมีใบหน้าทรงเหลี่ยม และความเหลี่ยมจัดของตัวทักษิณเอง
ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมรสกับ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร เมื่อ พ.ศ.2519 และได้อย่ากัน เมื่อ พ.ศ.2551 โดยทั้งคู่ทำการจดทะเบียนหย่าที่กงสุลไทย ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่
1. นายพานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)
2. นางสาวพินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ (เอม) สมรสกับ นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ (พงศ์) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
3. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (อุ๊งอิ๊งค์) สมรสกับ นายปิฎก สุขสวัสดิ์ (ปอ) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2561
การศึกษา
ดร.ทักษิณ ชินวัตร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย พ.ศ.2508 และ ระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (พ.ศ.2512) และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 (พ.ศ.2516) โดยสอบได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น ต่อมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยได้รับทุนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในสาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ.2518 และ สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต เมื่อ พ.ศ.2521
การรับราชการและธุรกิจ
ดร.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มทำงานโดยเป็นหัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2523 ดร.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวหลายอย่าง ควบคู่ไปกับการรับราชการตำรวจ เช่น ค้าขายผ้าไหม กิจการโรงภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่กลับประสบความล้มเหลว เป็นหนี้สินกว่า 50 ล้านบาท ในระหว่างนั้นจึงได้ลาออกจากราชการ ขณะมียศเป็นพันตำรวจโท ทักษิณ เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยมักเป็นการนำภาพยนตร์ที่เคยได้รับความนิยมกลับมาสร้างใหม่ แต่ส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ เช่น ไทรโศก (2524; สร้างครั้งแรกโดย วิจิตร คุณาวุฒิ พ.ศ.2510) รักครั้งแรก (2524; สร้างครั้งแรกโดย ล้อต๊อก พ.ศ.2517) โนรี (2525; สร้างครั้งแรกโดย พันคำ พ.ศ.2510) รจนายอดรัก (2526; สร้างครั้งแรกโดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง พ.ศ.2515) หลังจากการประกอบธุรกิจมาหลายประเภท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสารด้วยการก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด(เดิมชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI)) ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2526 เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมจาก IBM และต่อมาได้เริ่มธุรกิจวิทยุติดตามตัวยี่ห้อ Phonelink ที่ได้กลายเป็นแท่นกระโดดสู่ธุรกิจโทรคมนาคมเต็มตัว ถัดจากนั้นได้ก่อตั้งบริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด หรือเอไอเอส ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2529 เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 MHz หรือระบบเซลลูล่าร์ โดยได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ และยังได้ริเริ่มเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์เคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิกซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการให้บริการในลักษณะดังกล่าว โดยจัดตั้งบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด (ไอบีซี) เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2532 โดยเริ่มนำเอาช่องข่าวระดับโลกอย่าง CNN เข้ามาให้ชมได้เป็นครั้งแรก และกลายเป็นช่องทางรับชมข่าวสารที่สำคัญระดับโลกและเหตุการณ์สำคัญในเมืองไทยหลายเหตุการณ์ในเวลาต่อมา ต่อจากนั้นด้วยความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ว่าการสื่อสารโทรคมนาคมจะต้องเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน หรือ “สื่อสารกันได้ใต้ฟ้าเดียวกัน” ที่คาดการณ์ว่าการสื่อสารทั้งภาพและเสียงแบบสองทาง โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทาง จึงได้ลงทุนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ การเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียมสื่อสาร โดยเวลานั้นได้จัดตั้งบริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ขึ้นในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2534 ด้วยการเข้าประมูลสัมปทานเพื่อทำธุรกิจดาวเทียมสื่อสารของประเทศกับทางกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงคู่สัญญาเป็นกระทรวงไอซีที) ซึ่งสามารถชนะการประมูลในที่สุด สัญญาสัมปทานมีอายุ 30 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติดวงแรกอย่างเป็นทางการว่า ”ไทยคม” (“THAICOM”) มาจากคำว่า Thai Communications หรือ ไทยคมนาคม เพื่อเป็นสัญญลักษณ์การเชื่อมโยงประเทศไทยกับเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ หลังจากความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจนำบริษัทในกลุ่มชินวัตรเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ.2533 – พ.ศ.2537 อาทิ
* บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชันส์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2533
* บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2534
* บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2537
การเข้าสู่การเมือง
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 23 โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 – 11 มีนาคม พ.ศ.2548 หลังจากสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ และดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2548 - 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีรวมรักษาการนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเวลา 5 ปี 222 วัน รวมระยะเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีนานเป็นอันดับที่ 5 จาก 29 อันดับ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปีคนแรก เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภามากที่สุด (พรรคไทยรักไทย) จำนวน 377 คน จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 และ ท่านเคยถูกลอบสังหารจากกรณีคาร์บอม แต่ไม่สำเร็จ
นโยบายเด่น ผลงานเด่น และ การยอมรับของราชอาณาจักรไทยในสายตาของนานาชาติขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กับ คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 54 และ 55 ทำให้เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย
* นโยบายด้านสุขภาพ
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า "30 บาท รักษาทุกโรค"
* การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ในปี พ.ศ.2545 แปรรูปการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เป็น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ในปี พ.ศ.2546 แปรรูปการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.) เป็นสองบริษัทคือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ในปี พ.ศ.2546 แปรรูปองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) เป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ในปี พ.ศ.2547 แปรรูปองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
* การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แม้กระบวนการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในหลายรัฐบาล แต่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนแรกที่สร้างสำเร็จ มีข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมากระหว่างการก่อสร้าง ข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำเกิดการชุมนุมขับไล่ ในปี พ.ศ.2549 และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คณะรัฐประหารทำการยึดอำนาจ เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ข้อกล่าวหาต่างๆเป็นอันตกไปเมื่อป.ป.ช. มีมติยกคำร้องเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ.2555 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
* การปราบปรามผู้มีอิทธิพล
* การปลดหนี้ไอเอ็มเอฟ
* การช่วยเหลือชาวไทยในราชอาณาจักรกัมพูชาจากเหตุจลาจลในพนมเปญ
ออกคำสั่งให้เครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศไทยไปรับชาวไทยในราชอาณาจักรกัมพูชากลับมายังราชอาณาจักรไทยได้
* โครงการแท็กซี่ และ บ้านเอื้ออาทร
* หวยบนดิน (สลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว)
* โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอทอป
* โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
* โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
* การปราบปรามยาเสพติด
* ความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวียดนาม
ความจริงความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีมาตั้งแต่รัฐบาลของคณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 53 แต่ก็ไม่ทำให้ราคายางพาราดีขึ้นจนกระทั่งภายใต้การนำของคณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 54 และ 55 จากการเจรจาในความร่วมมือนี้และชักชวนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้ามาร่วมด้วย ทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นมากในช่วงเวลานั้น
* นโยบายปล่อยราคายางพาราให้เป็นไปตามกลไกตลาดซึ่งขณะนั้นมีผลดีต่อราคา มากกว่าการแทรกแซง และ โครงการกล้ายางพารา
* สนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21 มีมติเอกฉันท์ เมื่อ พ.ศ.2546 กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบ 30 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ.2516
* โครงการโคล้านครอบครัว
* โครงการสวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
* การลดหนี้สาธารณะจาก 57% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศให้เหลือ 41%
* เจ้าภาพจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีของรัชกาลที่9
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 55) เป็นเจ้าภาพจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีของรัชกาลที่9 ในส่วนรัฐพิธี และได้กราบบังคมทูลเชิญ พระราชอาคันตุกะมากมายทั่วโลก เพื่อทรงร่วมถวายพระพรในการนี้ ในนามรัฐบาลไทย
* งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ พ.ศ.2549
* มาตรการแก้ไวรัสระบาด "ไข้หวัดนก H5N1" และ โรคซาร์ส
* การแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติจากคลื่นสึนามิ ภาคใต้ พ.ศ.2547
* การประชุมเอเปค พ.ศ.2546 ที่ราชอาณาจักรไทยเป็นเจ้าภาพ โดย คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 54 ซึ่งได้รับคำชมและการยอมรับอย่างสูงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ทั้งในด้านสารัตถะและพิธีการ จากผู้เข้าร่วมประชุม
* พันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกานอกนาโต
ในช่วงสงครามอิรัก พ.ศ.2546 ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำยอมต้องส่งทหารของกองทัพไทย 423 นาย เข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ทางสหรัฐอเมริกาพอใจ และให้สถานะพันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกานอกนาโต แก่ราชอาณาจักรไทย ในพ.ศ. 2546
* คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 54 สามารถช่วยต่อรองให้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็น สมาชิกองค์การการค้าโลกได้ และ ใน พ.ศ.2555 สมัยคณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 60 (นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าร่วมพูดคุยกับรัฐบาลให้สนับสนุนให้สหพันธรัฐรัสเซีย เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จนสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าเป็น สมาชิกองค์การการค้าโลกได้สำเร็จ [อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ออนไลน์วอยซ์ทีวี "'วัฒนา' เทียบกึ๋น 'ทักษิณ-ประยุทธ์' คนละชั้น" วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562]
เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ
* นักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมลำดับที่1ของรุ่นที่26
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด จาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปี พ.ศ.2544, พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2550, พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ.2561 โดยในปี พ.ศ.2544, พ.ศ.2550, พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2555 ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการจัดอันดับเป็นนักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดอันดับที่1
* รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year โดย Asean Institute สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (พ.ศ.2535)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคม เพื่อสังคมของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2537)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times (พ.ศ.2537)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ.2537)
* วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2537)
* ได้รับทุน Lee Kuan Yew Exchange Fellowship จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ในเอเชีย ที่ได้รับทุน (พ.ศ.2537)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในบุคคล 50 คน ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก ของ นิตยสารไทม์(เอเชีย) (พ.ศ.2538)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ จากสถานทูตสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2538)
* รางวัล Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center, มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท สหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2539)
* รางวัล Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (พ.ศ.2539)
* รางวัลเกียรติยศจากสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สาขานักการเมือง พ.ศ.2540
* รางวัล โลซินเซีย แอปพลิเคชัน อวอร์ด จากองค์การภาพยนตร์ โมชั่น พิคเจอร์แอปพลิเคชัน (พ.ศ.2546)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น นักการเมืองชายดีเด่นแห่งปี จาก กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยผลคะแนนร้อยละ55.5 ประจำปี พ.ศ.2546
* รางวัล International Forgiveness Award 2004 ซึ่งมอบให้แก่บุคคลที่มีความพยายามมุ่งไปสู่สันติภาพ และสร้างความเป็นเอกภาพ (พ.ศ.2547)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดในรอบปีในสายตาคนกรุงเทพ จาก กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยผลคะแนนร้อยละ31.1 ประจำปี พ.ศ.2548
* วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งรัสเซีย (Plekhanov Russian Academy of Economics) สหพันธรัฐรัสเซีย พ.ศ.2550
* ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2550 เป็นกรณีพิเศษ
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 บุคคล/กลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด และ 1 ใน 3 บุคคล/กลุ่มบุคคลในระดับโลกที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด จาก กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในรอบปี พ.ศ.2552
* ได้รับการยกย่องให้เป็น นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในคนบ้านเลขที่ 111 จาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยผลคะแนนร้อยละ86.74 ประจำปี พ.ศ.2555
* รางวัลรัฐบุรุษเอบีแอลเอฟ (The ABLF Statesman Award) ในปี พ.ศ.2555 ในงานเอเชียน บิสซิเนส ลีดเดอร์ชีพ ฟอรัม จากการที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย การขจัดความยากจน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นแม่แบบให้องค์การอนามัยโลก นำไปเป็นแม่แบบในการดูแลระบบสุขภาพของหลายประเทศ
* ได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลที่คนไทยชื่นชอบที่สุด จากยูกอฟ บริษัทวิจัยและสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นด้านการตลาดทางอินเทอร์เน็ตแห่งสหราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2561
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 บุคคลซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดต่อประชาชนชาวไทย จาก เว็บไซด์ Culture Trip
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 นักการเมืองที่ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวมากที่สุด จาก หอการค้าโพลล์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยผลสำรวจดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ.2562”
* โครงการสวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
* การลดหนี้สาธารณะจาก 57% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศให้เหลือ 41%
* เจ้าภาพจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีของรัชกาลที่9
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 55) เป็นเจ้าภาพจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีของรัชกาลที่9 ในส่วนรัฐพิธี และได้กราบบังคมทูลเชิญ พระราชอาคันตุกะมากมายทั่วโลก เพื่อทรงร่วมถวายพระพรในการนี้ ในนามรัฐบาลไทย
* งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ พ.ศ.2549
* มาตรการแก้ไวรัสระบาด "ไข้หวัดนก H5N1" และ โรคซาร์ส
* การแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติจากคลื่นสึนามิ ภาคใต้ พ.ศ.2547
* การประชุมเอเปค พ.ศ.2546 ที่ราชอาณาจักรไทยเป็นเจ้าภาพ โดย คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 54 ซึ่งได้รับคำชมและการยอมรับอย่างสูงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ทั้งในด้านสารัตถะและพิธีการ จากผู้เข้าร่วมประชุม
* พันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกานอกนาโต
ในช่วงสงครามอิรัก พ.ศ.2546 ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำยอมต้องส่งทหารของกองทัพไทย 423 นาย เข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ทางสหรัฐอเมริกาพอใจ และให้สถานะพันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกานอกนาโต แก่ราชอาณาจักรไทย ในพ.ศ. 2546
* คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 54 สามารถช่วยต่อรองให้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็น สมาชิกองค์การการค้าโลกได้ และ ใน พ.ศ.2555 สมัยคณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ 60 (นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าร่วมพูดคุยกับรัฐบาลให้สนับสนุนให้สหพันธรัฐรัสเซีย เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จนสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าเป็น สมาชิกองค์การการค้าโลกได้สำเร็จ [อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ออนไลน์วอยซ์ทีวี "'วัฒนา' เทียบกึ๋น 'ทักษิณ-ประยุทธ์' คนละชั้น" วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562]
เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ
* นักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมลำดับที่1ของรุ่นที่26
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด จาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปี พ.ศ.2544, พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2550, พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ.2561 โดยในปี พ.ศ.2544, พ.ศ.2550, พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2555 ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการจัดอันดับเป็นนักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดอันดับที่1
* รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year โดย Asean Institute สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (พ.ศ.2535)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคม เพื่อสังคมของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2537)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times (พ.ศ.2537)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ.2537)
* วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2537)
* ได้รับทุน Lee Kuan Yew Exchange Fellowship จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ในเอเชีย ที่ได้รับทุน (พ.ศ.2537)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในบุคคล 50 คน ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก ของ นิตยสารไทม์(เอเชีย) (พ.ศ.2538)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ จากสถานทูตสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2538)
* รางวัล Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center, มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท สหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2539)
* รางวัล Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (พ.ศ.2539)
* รางวัลเกียรติยศจากสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สาขานักการเมือง พ.ศ.2540
* รางวัล โลซินเซีย แอปพลิเคชัน อวอร์ด จากองค์การภาพยนตร์ โมชั่น พิคเจอร์แอปพลิเคชัน (พ.ศ.2546)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น นักการเมืองชายดีเด่นแห่งปี จาก กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยผลคะแนนร้อยละ55.5 ประจำปี พ.ศ.2546
* รางวัล International Forgiveness Award 2004 ซึ่งมอบให้แก่บุคคลที่มีความพยายามมุ่งไปสู่สันติภาพ และสร้างความเป็นเอกภาพ (พ.ศ.2547)
* ได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดในรอบปีในสายตาคนกรุงเทพ จาก กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยผลคะแนนร้อยละ31.1 ประจำปี พ.ศ.2548
* วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งรัสเซีย (Plekhanov Russian Academy of Economics) สหพันธรัฐรัสเซีย พ.ศ.2550
* ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2550 เป็นกรณีพิเศษ
* ได้รับการยกย่องให้เป็น นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในคนบ้านเลขที่ 111 จาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยผลคะแนนร้อยละ86.74 ประจำปี พ.ศ.2555
* รางวัลรัฐบุรุษเอบีแอลเอฟ (The ABLF Statesman Award) ในปี พ.ศ.2555 ในงานเอเชียน บิสซิเนส ลีดเดอร์ชีพ ฟอรัม จากการที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย การขจัดความยากจน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นแม่แบบให้องค์การอนามัยโลก นำไปเป็นแม่แบบในการดูแลระบบสุขภาพของหลายประเทศ
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 บุคคลซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดต่อประชาชนชาวไทย จาก เว็บไซด์ Culture Trip
* ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 3 นักการเมืองที่ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวมากที่สุด จาก หอการค้าโพลล์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยผลสำรวจดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ.2562”
* พ.ศ.2564 ดีเอ็นเอนัดจ์ สตาร์คอัพด้าน 'เฮลท์เทค' ที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้าไปร่วมลงทุนทำ กับ ศาสตราจารย์ คริส ทาวมาโซ คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านวิศวกรรมเพื่อสังคมของสหราชอาณาจักร 'Royal Academy of Engineering MacRobert Award 2021'
ผลงานหนังสือ
* นายกฯทักษิณ ผู้จุดประกายการรักการอ่าน เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
* บทความด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย หนังสือพิมพ์ออนไลน์ Thai Enquirer 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
หน้าที่การงาน และ บทบาททางสังคม
* อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2518 - พ.ศ.2519
* รองสารวัตรป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง (พ.ศ.2519)
* หัวหน้าแผนก 6 กองวิจัย และวางแผนกรมตำรวจ (พ.ศ.2522)
* อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ.2522)
* รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ (พ.ศ.2523)
* รองผู้กำกับการศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ (พ.ศ.2524)
* ผู้ริเริ่มแนวความคิดพัฒนาการสื่อสารไทยในยุคแรก โดยการส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นสู่อวกาศเป็นคนแรก และ ให้กำเนิดดาวเทียม “ไทยคม”
* ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2530)
* ประธานกรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2533)
* ผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม เพื่อสนับสนุนการศึกษาผ่านดาวเทียม ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบมาเป็น สนับสนุนการศึกษาของเยาวชนในหลายรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบทผู้ยากไร้ มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่น
* ประธานที่ปรึกษานักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 และ นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 พ.ศ.2537
* กรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียศึกษา ปี พ.ศ.2538
* กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร SIIT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (23 ตุลาคม พ.ศ.2541)
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* นายกสมาคมชาวเหนือ พ.ศ. 2541
* ประธานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
* ประธานกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (พ.ศ.2545)
* อาจารย์พิเศษรับเชิญมาบรรยายเรื่องสอนอย่างไรให้ไปถึงฝัน ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย พ.ศ.2546 [คลิกเพื่อดูวีดีโอ]
* ประธานมูลนิธิไทยคม (พ.ศ.2536) - ปัจจุบัน
* นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 - 19 กันยายน พ.ศ.2549)
* ประธานความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(เอเปก) พ.ศ.2546
* นายกสมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย
* อาจารย์พิเศษรับเชิญมาบรรยายเรื่องธุรกิจของเอเชียและโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ ตำแหน่งศาสตราจารย์อาคันตุกะ แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ.2550
* ประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี พ.ศ.2551
* ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา(รัฐบาลของ จอมพล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน) พ.ศ.2552 - พ.ศ.2553
* วิทยากรในงานเสวนาแชร์ประสบการณ์กับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ณ สภาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร พ.ศ.2555
* วิทยากรในงานสนทนาเป็นการส่วนตัวกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ณ สถาบันนโยบายโลก นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ.2559
* วิทยากรรับเชิญในงานสัมมนาทางไกลเรื่อง โควิด-19 และ เศรษฐกิจ (THE POST COVID-19 WORLD is the coronavirus pandemic reshaping the global order?) ผ่านแอพพลิเคชั่นซูม 11 มิถุนายน พ.ศ.2563 โดยการเสวนาในครั้งนี้เป็นการเปิดอภิปรายอย่างเสรี โดยมีผู้เสวนาคนอื่นๆ ได้แก่
-พลอากาศตรี จอร์จ โหยว (George Yeo) นักการเมืองและทหารอากาศชาวสิงคโปร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์และกระทรวงอื่นๆหลายกระทรวง
-พันเอก พลตำรวจเอก เรย์มอนด์ เคลีย์ (Raymond Kelly) ตำรวจและทหารนาวิกโยธินชาวสหรัฐอเมริกา อดีตผู้บัญชาการตำรวจและคณะกรรมการตำรวจนครนิวยอร์ก
-ดร.เดวิด อเดลแมน (David Adelman) นักการเมือง นักกฏหมาย และ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสิงคโปร์ อดีตผู้ช่วยอัยการสูงสุดรัฐจอร์เจีย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภารัฐจอร์เจีย
-พลตรี เจฟฟรีย์ ฟาน ออร์เดน (Geoffrey Van Orden) นักการเมืองและทหารบกชาวอังกฤษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ
-นาย พอล เดรชเลอร์ (Paul Drechsler) นักธุรกิจและวิศวกรชาวไอริช อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมอังกฤษ
-นาย อับดุลอาซิซ อัล-เฮลาอิซซี (Abdulaziz Al Helaissi) นักเศรษฐศาสตร์และนายธนาคารชาวซาอุดีอาระเบีย ประธานกรรมการบริหารของธนาคารกัลฟ์อินเทอร์แนชนัล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ต่างประเทศ
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ สหไมตรี ชั้น แกรด์ ครอส (ชั้นมหาสิริวัฒน์ (ชั้นสูงสุด)) จากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ.2544
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์อะห์หมัด อัล ฟาติห์ สูงสุดลำดับที่ 2 จากราชอาณาจักรบาห์เรน พ.ศ.2545
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดอะ โมสต์ เบลสด์ ออร์เดอร์ ออฟ เซเทีย เนการา บรูไน ชั้น พีเอสเอ็นบี จากเนอการาบรูไนดารุซซาลาม พ.ศ.2545
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์คอมมานเดอร์ แกรนด์ ครอส ออฟ เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ เดอะโพลาร์ สตาร์ จากราชอาณาจักรสวีเดน พ.ศ.2546
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์แกรนด์ ครอส ออฟ ดิ ออร์เดอร์ ออฟ ออเร้นจ์ นาเซา จากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ.2547
รวมรูปภาพ
* นายกฯทักษิณ ผู้จุดประกายการรักการอ่าน เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
* คนไทยหายจน(เสียดาย..ถูกปล้นเสียก่อน)
ผลงานความบนหนังสือพิมพ์* บทความด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย หนังสือพิมพ์ออนไลน์ Thai Enquirer 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
หน้าที่การงาน และ บทบาททางสังคม
* อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2518 - พ.ศ.2519
* รองสารวัตรป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง (พ.ศ.2519)
* หัวหน้าแผนก 6 กองวิจัย และวางแผนกรมตำรวจ (พ.ศ.2522)
* อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ.2522)
* รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ (พ.ศ.2523)
* รองผู้กำกับการศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ (พ.ศ.2524)
* ผู้ริเริ่มแนวความคิดพัฒนาการสื่อสารไทยในยุคแรก โดยการส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นสู่อวกาศเป็นคนแรก และ ให้กำเนิดดาวเทียม “ไทยคม”
* ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2530)
* ประธานกรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2533)
* ผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม เพื่อสนับสนุนการศึกษาผ่านดาวเทียม ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบมาเป็น สนับสนุนการศึกษาของเยาวชนในหลายรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบทผู้ยากไร้ มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่น
* ประธานที่ปรึกษานักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 และ นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 พ.ศ.2537
* กรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียศึกษา ปี พ.ศ.2538
* กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร SIIT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (23 ตุลาคม พ.ศ.2541)
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* นายกสมาคมชาวเหนือ พ.ศ. 2541
* ประธานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
* ประธานกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (พ.ศ.2545)
* อาจารย์พิเศษรับเชิญมาบรรยายเรื่องสอนอย่างไรให้ไปถึงฝัน ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย พ.ศ.2546 [คลิกเพื่อดูวีดีโอ]
* ประธานมูลนิธิไทยคม (พ.ศ.2536) - ปัจจุบัน
* นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 - 19 กันยายน พ.ศ.2549)
* ประธานความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(เอเปก) พ.ศ.2546
* นายกสมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย
* อาจารย์พิเศษรับเชิญมาบรรยายเรื่องธุรกิจของเอเชียและโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ ตำแหน่งศาสตราจารย์อาคันตุกะ แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ.2550
* ประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี พ.ศ.2551
* ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา(รัฐบาลของ จอมพล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน) พ.ศ.2552 - พ.ศ.2553
* วิทยากรในงานเสวนาแชร์ประสบการณ์กับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ณ สภาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร พ.ศ.2555
* วิทยากรในงานสนทนาเป็นการส่วนตัวกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ณ สถาบันนโยบายโลก นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ.2559
* วิทยากรรับเชิญในงานการบรรยายการแก้ปัญหาความยากจนและการลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย ณ มหาวิทยาลัยโลโยลา แมรีเมาท์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พ.ศ.2559 [คลิกเพื่อดูวีดีโอ]
* พิธีกรในรายการGood Mondayรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้จัดทำรายการและเป็นพิธีกร ออกอากาศทางเว็บไซด์ https://www.thaksinofficial.com/ ตั้งแต่ พ.ศ.2561-พ.ศ.2562 โดยออกอากาศในรูปของไฟล์เสียง ไม่มีภาพ (พ็อดคาสต์) [คลิกเพื่อดูวีดีโอไฟล์เสียง]
โปสเตอร์ รายการGood Monday ของ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
* เจ้าภาพสวดพระอภิธรรมของ นางสาวปรายฝน อ่ำสาริกา ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย เพราะไม่เหลือเงินซิ้อนมให้ลูกกินจากวิกฤตเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 และ วาดรูป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563* วิทยากรรับเชิญในงานสัมมนาทางไกลเรื่อง โควิด-19 และ เศรษฐกิจ (THE POST COVID-19 WORLD is the coronavirus pandemic reshaping the global order?) ผ่านแอพพลิเคชั่นซูม 11 มิถุนายน พ.ศ.2563 โดยการเสวนาในครั้งนี้เป็นการเปิดอภิปรายอย่างเสรี โดยมีผู้เสวนาคนอื่นๆ ได้แก่
-พลอากาศตรี จอร์จ โหยว (George Yeo) นักการเมืองและทหารอากาศชาวสิงคโปร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์และกระทรวงอื่นๆหลายกระทรวง
-พันเอก พลตำรวจเอก เรย์มอนด์ เคลีย์ (Raymond Kelly) ตำรวจและทหารนาวิกโยธินชาวสหรัฐอเมริกา อดีตผู้บัญชาการตำรวจและคณะกรรมการตำรวจนครนิวยอร์ก
-ดร.เดวิด อเดลแมน (David Adelman) นักการเมือง นักกฏหมาย และ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสิงคโปร์ อดีตผู้ช่วยอัยการสูงสุดรัฐจอร์เจีย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภารัฐจอร์เจีย
-พลตรี เจฟฟรีย์ ฟาน ออร์เดน (Geoffrey Van Orden) นักการเมืองและทหารบกชาวอังกฤษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ
-นาย พอล เดรชเลอร์ (Paul Drechsler) นักธุรกิจและวิศวกรชาวไอริช อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมอังกฤษ
-นาย อับดุลอาซิซ อัล-เฮลาอิซซี (Abdulaziz Al Helaissi) นักเศรษฐศาสตร์และนายธนาคารชาวซาอุดีอาระเบีย ประธานกรรมการบริหารของธนาคารกัลฟ์อินเทอร์แนชนัล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ต่างประเทศ
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ สหไมตรี ชั้น แกรด์ ครอส (ชั้นมหาสิริวัฒน์ (ชั้นสูงสุด)) จากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ.2544
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์อะห์หมัด อัล ฟาติห์ สูงสุดลำดับที่ 2 จากราชอาณาจักรบาห์เรน พ.ศ.2545
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดอะ โมสต์ เบลสด์ ออร์เดอร์ ออฟ เซเทีย เนการา บรูไน ชั้น พีเอสเอ็นบี จากเนอการาบรูไนดารุซซาลาม พ.ศ.2545
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์คอมมานเดอร์ แกรนด์ ครอส ออฟ เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ เดอะโพลาร์ สตาร์ จากราชอาณาจักรสวีเดน พ.ศ.2546
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์แกรนด์ ครอส ออฟ ดิ ออร์เดอร์ ออฟ ออเร้นจ์ นาเซา จากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ.2547
รวมรูปภาพ
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ เรือโท จอร์จ เฮอร์เบิร์ต วอล์กเกอร์ บุช
(เสื้อสีขาว) และ ศาสตราจารย์ ดร.วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน (ศาสตราจารย์ ดร.บิล คลินตัน)
(เสื้อสีแดง) อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(เสื้อสีขาว) และ ศาสตราจารย์ ดร.วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน (ศาสตราจารย์ ดร.บิล คลินตัน)
(เสื้อสีแดง) อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ เรืออากาศโท จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช
อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ บุตรชายของเรือโท จอร์จ เฮอร์เบิร์ต วอล์กเกอร์ บุช
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ ดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่45
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่45
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ พันเอกแห่งเคจีบี วลาดีมีร์ ปูติน
ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซียคนที่2 และ อดีตนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ เนลสัน แมนเดลา
รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลกและอดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ร้อยตรี ฌัก เรอเน ชีรัก
อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศสและผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา
อดีตนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ รัฐบุรุษอาวุโสของฝรั่งเศส
อดีตนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ รัฐบุรุษอาวุโสของฝรั่งเศส
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
เดอะไรต์ออนะระเบิล แอนโธนี ชาลส์ ลินตัน แบลร์ (เดอะไรต์ออนะระเบิล โทนี แบลร์)
เดอะไรต์ออนะระเบิล แอนโธนี ชาลส์ ลินตัน แบลร์ (เดอะไรต์ออนะระเบิล โทนี แบลร์)
อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา
ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลคนที่35
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน
และ เชื้อพระวงศ์แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
และ เชื้อพระวงศ์แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ โคฟี แอนนัน
เลขาธิการสหประชาชาติคนที่7
เลขาธิการสหประชาชาติคนที่7
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ จุนอิจิโร โคอิซูมิ
นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นคนที่56
นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นคนที่56
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ ชินโซ อาเบะ
นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นคนที่57
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ เจียง เจ๋อหมิน
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่5
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ หู จิ่นเทา
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่6
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่6
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
จอมพล (สามเหล่าทัพ) สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละห์
สุลต่านองค์ที่ 29 แห่งเนอการาบรูไนดารุซซาลาม
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ แยง อาเมด เบอร์เฮอร์เมด ตุน
นายแพทย์ มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐมาเลเซียคนที่4
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ ฯพณฯ ลี กวนยู
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสิงคโปร์สิงคโปร์คนที่1
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสิงคโปร์สิงคโปร์คนที่1
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ พลเอกอาวุโส ต้านชเว
ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
จอมพล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา
จอมพล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
จอมพล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา
จอมพล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา
และ พลตรี ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก (เสื้อสีดำตรงกลาง)
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงถ่ายภาพร่วมกับ
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงถ่ายภาพร่วมกับ
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ณ พิธีฉลองงานแต่งของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร กับ นายปิฎก สุขสวัสดิ์
ใน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ใน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ถ่ายภาพร่วมกับ พลตรี ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล
อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และ อดีตแกนนำ นปช.
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
คุณหญิง นายกองเอก ดร.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ขณะทำงานการเมืองในสังกัดพรรคพลังธรรม
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์
ในงานปล่อยดาวเทียมไทยคม 1 ที่เมืองคูรู เฟรนช์เกียนา สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทวีปอเมริกาใต้
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ ชวลิต ยงใจยุทธ (คนที่เอามือโอบบิ๊กจ๊อดไว้) และ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุจินดา คราประยูร (คนที่ใส่เสื้อสีน้ำตาลที่ถือแก้ว)
ในงานวันเกิดของบิ๊กจ๊อด พ.ศ.2534
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
นายกองใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ มหาวิทยาลัยชินวัตร
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ
ฯพณฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นายกองใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
3 อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.เฉลิม อยู่บำรุง และ นายกองใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้เกียรติรับมอบของที่ระลึกจาก
นาย คาซูโอะ ซูยาม่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด พ.ศ.2548
เนื่องในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ อย่างเป็นทางการ
ที่ชั้น 6 ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร
และ ครอบครัวของท่าน ในช่วง พ.ศ.2518 - พ.ศ.2535
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ขณะเรียนอยู่ที่ โรงเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ขณะเรียนอยู่ที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ขณะเรียนอยู่ที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ในวันรับพระราชทานกระบี่
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ รูปล้อเลียน ของ "ไข่แมว" พร้อมลายเซ็น
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ขึ้นหน้าปกนิตยสารไทม์ เอเชีย 2 ครั้ง
(รูปที่1 พ.ศ.2544 และ รูปที่2 รูปที่3 พ.ศ.2550 ตามลำดับ)
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตรวจเยี่ยมประชาชนในโครงการ30บาทรักษาทุกโรค
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
สวมชุดเครื่องแบบปกติขาวนายกรัฐมนตรี ครั้งเมื่อยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นหน้าปกนิตยสารบิสซิเนส วีค
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตรวจเยี่ยมประชาชนในโครงการ30บาทรักษาทุกโรค
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
สวมชุดเครื่องแบบปกติขาวนายกรัฐมนตรี ครั้งเมื่อยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
➽หมายเหตุ
1. จากรูปที่ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายภาพร่วมกับ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์ หรือ บิ๊กจ๊อด ในงานปล่อยดาวเทียมไทยคม 1 ที่เมืองคูรู เฟรนช์เกียนา ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ใส่ความเท็จว่าจากรูปนี้ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์ เป็นผู้มีพระคุณต่อ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ให้สัมปทานดาวเทียมไทยคมแก่ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมิได้เป็นความจริงเลย เพราะ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ชนะประมูลสัมปทานดาวเทียมตั้งแต่สมัยรัฐบาลของ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ ชาติชาย ชุณหะวัณ แล้ว มิได้ไปขอร้อง รสช.ให้ช่วยชนะประมูล หรือ ผูกขาดสัมปทานดาวเทียมเลย การที่รสช.ให้สัมปทานดาวเทียมเป็นการให้ตามปกติ ของผู้ที่ชนะประมูล ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้เชิญ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์ มาร่วมงานตามมรรยาทที่ดีเท่านั้นเอง
2. “ถ้าไม่มีพี่ชายผมคนนี้ ก็ไม่มีวันนี้” คำพูดจากใจ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ดาวเทียมไทยคมถูกส่งขึ้นสู่ฟ้า 17 ธันวาคม พ.ศ.2536 ในวันนั้น "ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร" เชิญสื่อมวลชนและแขกวีไอพีไปเป็นสักขีพยาน หนึ่งในนั้นคือ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์ อดีตประธาน รสช. แม้ว่า รสช. จะหมดอำนาจ และ ภาพลักษณ์ของ "บิ๊กจ๊อด" ค่อนข้างติดลบ แต่ "ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ก็ยังเชื้อเชิญ "บิ๊กจ๊อด" ไปร่วมงานและบอกกับคนที่ไปร่วมงานด้วยว่า "ถ้าไม่มี บิ๊กจ๊อด ก็ไม่มีวันนี้"